การเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์

สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 (โควิด-19) ทวีความรุนแรงอย่างเป็นวงกว้างมากขึ้น รอบ 2 ที่หนักขึ้น ครู/อาจารย์และนักเรียน นิสิต นักศึกษา ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนก็พร้อมใจกันใช้นโยบาย Work From Home เพื่อชะลอและป้องกันการระบาดของไวรัสนี้ ตามมาตรการ Social Distancing หรือ ระยะห่างทางสังคม

     เพื่อให้การทำงานเดินหน้าต่อไปได้ ก็ต้องหาตัวช่วยที่ทำให้เราทำงานที่บ้านได้มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับการทำงานที่ห้องเรียนมากที่สุด โดยเฉพาะการประชุมออนไลน์นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการจัดการเรียนการสอนช่วงนี้ (และบ่อยเสียด้วย) แอปพลิเคชันที่ให้บริการ Video Conference จึงกลายเป็นพระเอกของวงการ มีหลายแอปที่ทำออกมาได้ตอบโจทย์ มีจุดเด่นและความเหมาะสมแตกต่างกันออกไป สำหรับการประชุมออนไลน์และสอนออนไลน์ในช่วง WFH รองรับการใช้งานผ่าน web browser ทุกอุปกรณ์ รวมถึงระบบปฏิบัติการ Android และ iOS

1.Zoom

แอปประชุมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมาก แทบทุกบริษัทใช้งานแอปนี้เป็นหลัก จุดเด่นคือการใช้งานที่ครอบคลุม สามารถรองรับผู้เข้าร่วมประชุมได้ 100 คน คุยเป็นกลุ่มได้นาน 40 นาทีฟรี ถ้าคุย 2 คนไม่จำกัดเวลา ทั้งยังเหมาะกับการพรีเซนต์งานออนไลน์ โดยแอปนี้สามารถแชร์ภาพหน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณให้ทุกคนที่ร่วมประชุมเห็นพร้อม ๆ กัน

ข้อดี

  • ค่อนข้างเสถียรแม้ประชุมหลายคน
  • สามารถแชร์สไลด์หรือคอนเทนต์ได้ง่าย
  • เห็นผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน

ข้อเสีย

  • มีรายงานข่าวเรื่องความไม่ปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัว

2.Google Meet

ประชุมออนไลน์ที่เราแนะนำ พัฒนามาแทน Google Talk ใช้งานง่าย มีอีเมล Gmail ก็เซ็ตอัพการประชุมได้แล้ว แค่ล็อกอินเข้า gmail ก็พร้อมรายงานตัวกับ boss แล้ว แอปนี้รองรับการประชุมได้ 10 คน เหมาะกับการประชุมทีมที่ไม่ใหญ่มาก โยนไอเดียออนไลน์กันได้แบบไม่จำกัดเวลา สามารถแชร์สกรีน ไฟล์ และรูปภาพได้เหมือนกับ Zoom ที่สะดวกอีกอย่างก็คือเราสามารถใช้เบอร์โทรศัพท์เพื่อร่วมการประชุมได้ แชทคุยกันก็ทำได้สบายๆ

     ส่วนแพคเกจเสริม ทาง Google มีออปชั่นให้อัพเกรดเป็น Hangout Meet ที่รองรับผู้เข้าประชุมได้สูงถึง 250 คน สามารถบันทึกวีดีโอการประชุมได้ ซึ่งก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

ข้อดี

  • เซ็ตอัพง่ายใช้งานสะดวก
  • User Interface ดี
  • ใช้งานร่วมกับ Google Apps อื่น ๆ ได้คล่อง

ข้อเสีย

  • ต้องมี Google Account เท่านั้น

3.Ms Team

Microsoft Teams เรียกได้ว่าบริการฟรีครบวงจร รองรับผู้ใช้งานได้ 250 คน มีฟังก์ชั่นเจ๋ง ๆ อย่าง Live Captions & Subtitles แปลงเสียงพูดของเราเป็นคำบรรยาย บันทึกการประชุมเก็บขึ้น Streams ฟรี เรื่องแชร์ไฟล์ รูปภาพ หน้าจอ ก็ทำได้หายห่วง การนัดประชุมก็สะดวก เพราะสามารถเชื่อมต่อกับ Calendar บน Outlook ได้ ที่ชอบอีกอย่างคือ UI (User Interface) ดูเป็นมิตร สร้างและแบ่งกลุ่มทำงานได้ ระบบแชทก็ดูคุ้นเคย 

     สำหรับองค์กรใหญ่ที่มีพนักงานเป็นพันสามารถอัพเกรดแพคเกจการใช้งานได้ตามต้องการให้ ดูแล้วแอปนี้ไม่ได้เหมาะแค่เรื่องธุรกิจเท่านั้น แต่ยังเหมาะกับเรื่องการศึกษาอีกด้วย

ข้อดี

  • ใช้งานร่วมกับ Office 365 ได้ลงตัว  
  • ใช้งานร่วมกับแอปอื่นได้ เช่น Trello, Google Drive, Dropbox
  • มี Bots คอยช่วยเหลือ

ข้อเสีย

  • ต้องทำความคุ้นชินกับโครงสร้างการจัดเก็บไฟล์ของแอ็ปฯ

คำแนะนำ
– ถ้าอาจารย์ต้องการเพียง video conference เพียงอย่างเดียว แนะนำให้ใช้ Google Meet
(อาจารย์อาจจะมีใช้ e-classroom ตัวอื่นอยู่แล้ว เช่น Google Classroom หรือ Canvas
– ถ้าอาจารย์ต้องการใช้ฟังก์ชั่นของ e-classroom ร่วมด้วยกับ video conference แนะนำให้ใช้Microsoft Teams
– อาจารย์ส่วนมากชอบการทำ video conference มากกว่า live event เพราะต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับนิสิต
– การพูดถามคำถามโดยนักศึกษาในคลาสสอนสดขนาดใหญ่ ถ้ามีผู้ถามหลายคนอาจจะทำให้เกิดความวุ่นวาย ดังนั้น อาจารย์ต้องเตรียมช่องทางอื่นในการให้นักศึกษาถามคำถาม
– พยายามใช้หูฟังที่มีไมโครโฟนที่มีคุณภาพสูง